วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552






ชื่อโครงงาน อาหารสมุนไพรพื้นเมือง


ผู้จัดทำ
1.นายวณิช แสงงาม
2.นางสาวดรุณฉาย ทัตโถมะ
3.นางสาวนารีรัตน์ ยะอูป
4.นางสาวอมรรัตน์ หาญยุทธ
5.นายสมศักดิ์ ทิพย์ปิ่นทอง


ระดับการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 ปีการศึกษา 2552
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน คุณครูปาริชาติ สุทธิเวทย์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม คุณครูนภาพร ตุ้ยคัมภีร์

บทนำ


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ปัจจุบันผู้คนมีปัญหาที่เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพทำให้ผู้คนคำนึงถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สมุนไพรสามารถ รักษาโรค หาง่าย และดีต่อสุขภาพจึงนิยมนำมาประกอบอาหารจากตั้งแต่ก่อนจนถึงทุกวันนี้
ทางคณะผู้จัดทำได้นำเอาสมุนไพรมาทำอาหารพื้นบ้านของ ภาคเหนือมีทั้งอาหารคาวคือแกงแคไก่ หวานคือเมี่ยงคำ ยำคือยำสนัด และน้ำสมุนไพรคือน้ำว่านหางจระเข้ ทั้งที่เป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทย เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจทั้งชาวไทยที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสและชาวต่างชาติหรือแม้กระทั่งชาวฝรั่งเศสเอง หวังว่าผู้ที่สนใจศึกษาเข้ามาศึกษามาก จึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น


หลักการและเหตุผล


เพื่อเป็นการนำเสนออาหารพื้นเมืองที่สามารถดัดแปลงใช้สมุนไพรพื้นบ้านในการทำอาหารโดยนำเสนอเป็นภาษาฝรั่งเศสอีกทั้งยังนำภาษาฝรั่งเศสมาปรับใช้ได้อีกด้วย
อาหารไทยเป็นอาหารที่นิยมทานกันทั่วไปทั้ง4ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสานและภาคใต้ แต่ละภาคจะมี รสชาติและส่วนผสมในการทำอาหารแตกต่างกันไป ทางภาคเหนือได้นำเอาสมุนไพรพื้นบ้านมาทำอาหารหลายชนิดและบางอย่างยังเป็นอาหารประจำจังหวัดที่รู้จักกันดี คณะผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์อาหารพื้นเมืองพร้อมทั้งสรรพคุณที่ได้จากสมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารอีกด้วย จึงศึกษาแล้วจัดทำในรูปแบบสื่อและโครงงานเผยแพร่ให้ชาวไทยและชาวต่างชาติ

วัตถุประสงค์

1.ในแต่ละกลุ่มสามารถนำเสนอรายการอาหารเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทยได้
และสามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารได้
2.เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.เพื่อให้ทราบถึงวิธีการประกอบอาหาร
4.เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิด
5.เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม
6.เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมพื้นบ้านของภาคเหนือทางด้านอาหารพื้นเมือง
เป็นภาษาไทยและฝรั่งเศสผ่าน www.blogspot.com
7.สามารถนำความรู้ในการทำโครงงานมาประยุกต์ใช้กับการเรียนรายวิชาภาษาฝรั่งเศสท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น



สมมติฐาน

ชาวต่างชาติที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสและผู้ที่สนใจเกี่ยวกับอาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือ
สามารถเข้ามาศึกษาและนำตำราอาหารไปใช้ได้และนักเรียนทุกคนสามารถถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ
เป็นภาษาฝรั่งเศสได้


สถานที่ในการทำโครงงาน


-โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ
-บ้านของ นายวณิช แสงงาม
-บ้านของ นางสาวนารีรัตน์ ยะอูป



การดำเนินงาน


วันเริ่มต้นโครงงาน 22 มิ.ย. 52 วันสิ้นสุดโครงงาน 17 มิ.ย. 52
1.ช่วยกันคิดเมนูอาหารสมุนไพร
2.สืบค้นข้อมูล ทาง Internet และสอบถามตามท้องถิ่น
3.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเรียบเรียงเป็นภาษาไทย
4.เปลี่ยนข้อมูลที่ได้ไปเป็นภาษาฝรั่งเศส
5.นำข้อมูลเสนอคุณครูเพื่อตรวจทาน
6.แก้ไขและปรับปรุงข้อมูล
7.วางแผนจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการทำอาหาร
8.ลงมือทำอาหาร
9.นำรูป / คลิป ที่ถ่ายไว้ลงบล็อก
10.ปรับแต่ง จัดเรียงเนื้อหาลง blog ของกลุ่ม
11.นำเสนอคุณครู และเพื่อนเพื่อประเมินผลงาน


ผลที่คาดว่าจะได้รับ


เมื่อผู้ที่เข้ามาศึกษาโครงงานนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสหรือไม่ใช้ก็ตามจะต้องได้ความรู้ทางตำราอาหารพื้นเมืองทั้งภาษาฝรั่งเศสทั้งภาษาไทยหรืออาจจะมีใครสนใจนำไปประกอบอาชีพของตนเองก็ได้ด้วยเหตุนี้ผู้จัดทำจึงอยากแสดงให้เป็นตัวอย่างว่าการทำอาหารพื้นเมืองเป็นเรื่องที่ง่าย พวกเราคาดว่าทุกเพศทุกวัยที่ได้อ่านศึกษาโครงงานนี้ จะได้นำความรู้ที่ได้จากโครงงานนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ การทำอาหารแบบง่ายๆ ทำเองได้ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ทานอีกด้วย ทั้งการทำเป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งสามารถให้คนฝรั่งเศสหรือคนที่เรียนภาษาฝรั่งเศสศึกษาและค้นคว้าโครงงานนี้ได้ ทางคณะผู้จัดทำหวังว่า โครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้นคว้าได้อย่างสูงสุด

งบประมาณ


162 บาท
แบ่งเป็นรายการอาหารได้ดังนี้
1.เมี่ยงคำ 40 บาท
2.น้ำว่านหางจระเข้
-น้ำตาล 15 บาท
3.แกงแคไก่ และยำสนัด
-ผักแกงแค และผักยำสนัดรวมกัน 87 บาท
-เนื้อหมูยำสนัด 20 บาท




ปัญหาและอุปสรรค

ปัญหาที่เกิดจากการทำโครงงานเป็นเรื่องธรรมดาที่คนในกลุ่มมีการออกความคิดเห็นและความคิดเห็นที่หยิบยื่นเป็นความขัดแย้งกัน ในบางครั้งคนในกลุ่มก็เกิดขาดความรับผิดชอบก็มีการขัดแย้งกันอีก

วิธีการแก้ไขปัญหา

คุยกันจนเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และ ช่วยกันแก้ไขจนสำเร็จ โดยจะคอยตักเตือนซึ่งกันและกันถ้าเห็นว่ามีคนที่คิดผิดขึ้นมา


สรุปผลและข้อเสนอแนะ


อาหารที่ได้ปฏิบัติ มีรสชาติ เผ็ด จืด และเมื่อเติมเกลือลงไปรสชาติอาหารก็อร่อยยิ่งขึ้น อาหารที่ทำมียำสะนัด กับ แกงแค ซึ่งอาหารทั้ง 2 อย่างที่ทำมีรสชาติค่อนข้างเค็ม และ เผ็ดไปนิดหน่อย แกงแคค่อนข้างที่จะมีสีแดง เนื่องจากใส่น้ำมันเยอะไปหน่อย ส่วนยำสะนัด มีเนื้อหมูเยอะเกินไปแต่ถึงย่างไรโครงงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาศึกษาไม่มากก็น้อยอย่างแน่แท้ ทั้งตำราอาหาร ทั้งการนำภาษาฝรั่งเศสไปใช้เพื่อการสื่อสารของผู้ค้นคว้าใช้ประโยชน์จากบล็อกนี้ตามใจชอบ
ขอบคุณครับ / ขอบคุณค่ะ







กิติกรรมประกาศ


โครงงานภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง "อาหารสมุนไพรพื้นเมือง" สำเร็จด้วยความกรุณาจาก อาจารย์ปาริชาติ สุทธิเวช อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ให้ความ ช่วยเหลือ แนะนำ ในการเขียนโครงงานเป็นภาษาฝรั่งเศสอย่างใกล้ชิดจนทำให้โครงงาน ที่ศึกษาสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี อาจารย์นภาพร ตุ้ยคำภีร์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ที่ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขโครงงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดร.ผ่องพรรณ สุวรรณนันท์ เลอกรองค์ ที่ช่วยเรียบเรียงภาษาฝรั่งเศส ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คุณแม่กิ่งทอง ยะอูป ผู้ปกครองของ น.ส.นารีรัตน์ ยะอูป ที่ให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องสถานที่ในการทำอาหาร คอยช่วยเหลือวัสดุอุปกรณ์ในการทำ และยังบอกวิธีการทำอาหาร ทำให้ในการทำอาหารสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ป้าร้านขายเมี่ยงคำที่ถนนคนเดิน ที่ช่วยสอนวิธีการ ทำเมี่ยงคำ และ บอกเรื่องเครื่องเคียงของเมี่ยงคำ และพี่ชมพูนุช ที่ให้คำแนะนำให้เรื่องการเขียน ภาษาฝรั่งเศส ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านเป็ฯอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ/ครับ





เอกสารอ้างอิง
1.http://www.yupparaj.ac.th/webpage/computer/student/topic12/cagai.html
2.www.yourhealthyguide.com/Menu/mj-aloe-juice.html -
3.
http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/detail_lannafood.php?id_food=67
4.http://61.19.145.8/student/web42106/514/514-1416/tt2.html